หน้าหลัก ประเพณีพื้นบ้าน แหล่งท่องเที่ยว กิจกรรม/ข่าวสาร อัลบั้มรูป แผนที่

    ความเป็นมาประเพณีพื้นบ้าน

    ประเพณีของภาคเหนือหรือเรียกว่าประเพณีพื้นเมืองเกิดจากการผสมผสานการดำเนินชีวิตและศาสนาพุทธความเชื่อเรื่องการนับถือผีส่งผลทำให้มีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของประเพณีที่จะแตกต่างกันไปตามฤดูกาลทั้งนี้ภาคเหนือจะมีงานประเพณีในรอบปีแทบทุกเดือน

    • สงกรานต์งานประเพณีหรือปี๋ใหม่เมือง

     ถือเป็นช่วงแรกของการเริ่มต้นปี๋ใหม่เมือง โดยแบ่งออกเป็น

    วันที่ 13 เมษายน  หรือวันสังขารล่อง  ถือเป็นวันสิ้นสุดของปี  โดยจะมีการยิงปืน  ยิงสโพก และจุดประทัดตั้งแต่ก่อนสว่างเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากบ้านวันนี้ต้องเก็บกวาดบ้านเรือน และทำความสะอาดวัด

     วันที่ 14 เมษายน  หรือวันเนา ตอนเช้าจะมีการจัดเตรียมอาหาร  และเครื่องไทยทานสำหรับงานบุญในวันรุ่งขึ้นตอนบ่ายจะไปขนทรายจากแม่น้ำเพื่อนำไปก่อเจดีย์ทรายในวัด  เป็นการทดแทนทรายที่เหยียบติดเท้าออกจากวัดตลอดทั้งปี

    วันที่ 15 เมษายน  หรือวันพญาวัน เป็นวันเริ่มศักราชใหม่ มีการทำบุญถวายขันข้าว ถวายตุง  ไม้ค้ำโพธิ์ที่วัดสรงน้ำพระพุทธรูป พระธาตุและรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ

    วันที่ 16-17  เมษายน  หรือวันปากปีและวันปากเดือน  เป็นวันทำพิธีทางไสยศาสตร์  สะเดาะเคราะห์และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆทั้งนี้ชาวล้านนามีความเชื่อว่าการทำพิธีสืบชะตาจะช่วยต่ออายุให้ตนเองญาติพี่น้องและบ้านเมืองให้ยืนยาวทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นสิริมงคลโดยแบ่งการสืบชะตาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือการสืบชะตาคน,การสืบชะตาบ้าน และการสืบชะตาเมือง

    • ประเพณี “ปอยส่างลอง”  หรือ  “ประเพณีบวชลูกแก้ว”            

    เป็นประเพณีประจำปีของชาวไตหรือไทยใหญ่เกือบทั้งหมดของจังหวัดแม่ฮ่องสอนประเพณีนี้เป็นการนำเด็กชายที่มีอายุครบบวชเข้าบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อกล่อมเกลาให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีต่อไปคำว่า “ปอยส่างลอง” เป็นภาษาไทยใหญ่ซึ่งสามารถแยกศัพท์ออกได้คือ“ปอย”แปลว่างานหรือพิธีการ “ส่าง” หมายถึงสามเณร ส่วน “ลอง” แปลว่ายังไม่ได้เป็น ฉะนั้นเมื่อนำมารวมกันจะหมายถึงพิธีการเตรียมตัวเป็นสามเณรนั่นเองกระบวนการปอยส่างลอง  จะเริ่มขึ้นเมื่อมีการชักชวนกันของชาวบ้านที่มีลูกหลานอายุครบบวชโดยจะมีการคัดเลือกเจ้าภาพใหญ่ซึ่งจะเป็นแม่งานในการจัดงาน ซึ่งมักจะเป็นคหบดีหรือผู้กว้างขวางในสังคมโดยเจ้าภาพจะมีหน้าที่ในการร่วมกันกำหนดขั้นตอนของพิธีการ  ส่วนเด็กที่มีอายุครบบวช  จะถูกนำตัวไปอยู่วัดเพื่อเรียนรู้วัตรปฎิบัติสำหรับการเป็นสามเณรก่อนพิธีการประมาณ 20 วัน หรือมากกว่า ส่วนผู้ใหญ่ก็จะวางกำหนดการวันประกอบพิธีซึ่งจะแบ่งเป็น  3  วัน วันรับส่างลองไปฝึกวัตรปฏิบัติที่วัดกลับมาประกอบพิธีที่บ้านเจ้าภาพ วันที่สองเป็นวันแห่เครื่องไทยทานและเรียกขวัญส่างลอง(คล้ายๆ กับการทำขวัญนาค)ซึ่งจะประกอบด้วยขบวนแห่ฟ้อนรำแบบไทยใหญ่ขบวนมโหรีขบวนแห่เครื่องไทยทานเครื่องอัฐบริขารเทียนเงินเทียนทอง เป็นต้น   ซึ่งส่างลองจะถูกตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับที่สวยงามและจะขี่คอผู้ช่วยที่เรียกกันว่า “ตาแปส่างลอง”ตลอดการเดินทาง และวันที่สามเป็นวันบรรพชาซึ่งก็ไม่แตกต่างจากการบรรพชาในส่วนอื่นๆ ของประเทศเท่าใดนัก

    • ประเพณีปอยหลวง

    ประเพณีปอยหลวง คือ งานฉลองถาวรวัตถุ หรือสิ่งก่อสร้างที่ประชาชนช่วยกันสร้างขึ้นเพื่อถวายวัดและเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะชนเช่นวิหาร ศาลา โรงเรียน หอประชุม เป็นต้น นิยมทำการฉลองครั้งใหญ่หลังจากการก่อสร้างสำเร็จแล้ว ทำเป็นงานใหญ่โตเรียกว่า ปอยหลวงอุทิศสิ่งก่อสร้างเป็นของสงฆ์และอุทิศบุญกุศลแก่บรรพชนด้วย ถ้าทำส่วนตัวเรียกว่า อุทิศกุศลไว้ภายหน้า หากอุทิศแก่คนตายไปแล้วเรียกว่าอุทิศไปหาผู้ที่ถึงแก่กรรม ช่วงเวลาจัดงานเริ่มจากเดือน 5 จนถึงเดือน  7 เหนือ(ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลา 3-7 วัน

     

    • ประเพณียี่เป็งหรืองานลอยกระทง

    ประเพณียี่เป็งหรืองานบุญยี่เป็ง มีขึ้น 3 วัน โดยในแต่ละวันจะมีกิจกรรมที่นิยมทำกันมาช้านานได้แก่

     วันขึ้นสิบสามค่ำหรือวันดา เป็นวันที่พี่น้องชาวล้านนากลับคืนสู่บ้านและเตรียมซื้อของเพื่อไปทำบุญที่วัด

     วันขึ้นสิบสี่ค่ำ พี่น้องชาวล้านนาจะไปทำบุญที่วัด พร้อมทำกระทงใบใหญ่ไว้ที่วัดเพื่อนำอาหารและของกินมากมายใส่กระทงและให้ทานแก่คนยากจน

    วันขึ้นสิบห้าค่ำ พี่น้องชาวล้านนาจะนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ พร้อมทั้งจุดถ้วยประทีป (การจุดผางปะตี๊บ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    •  ประเพณีลอยโคม

     ชาวล้านนาทางภาคเหนือ ที่มีความเชื่อในการปล่อย โคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้าย ๆ ต่าง ๆ ให้ไปพ้นจากตัว

    •  ประเพณีตานตุง  

    ในภาษาถิ่นล้านนา ตุง หมายถึง "ธง" ตุงสมัยก่อนของชาวเหนือ จึงสัมพันธ์กับพระพุทธเจ้าทั้งห้าองค์ การทำตุงถวายจึงเปรียบเสมือนตัวแทนสักการะของการแผ่กุศล กตัญญูกตเวทีไปถึงผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว เราอาจเห็นตุงที่มีรูปไก่ยืนอยู่บนหัวตุงหมายถึงไก่ ส่วนลำตัวและใบของตุงแทนรูปนาค ลวดลายต่าง ๆ เป็นตารางเกล็ด หรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หมายถึงเต่า และส่วนประดิษฐ์เป็นรูปกลมหมายถึงตาวัวหรือวัว หรือถวายให้แก่ตัวเองด้วยความเชื่อที่ว่า เมื่อตายไปแล้วก็จะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์พ้นจากขุมนรก

    • ประเพณีกรวยสลาก หรือตานก๋วยสลาก 

    การทำบุญทานสลาก หรือตานก๋วยสลาก หรือ กิ๋นก๋วยสลาก เป็นประเพณีที่สำคัญของทางภาคเหนือเป็นการร่วมสามัคคีกันเพื่อได้มาพร้อมหน้าตากันในหมู่ญาติพี่น้องเพื่อจะได้ทำบุญถึงญาติ พี่น้องที่ล่วงลับไปก่อนนั้นเพื่อนฝูงบ้านใกล้เรือนเคียงก็บอกบุญให้มาร่วมกันผลัดเปลี่ยนถึงคราวหน้า เราก็จะได้ไปร่วมบุญของเขาบ้างถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน การทานก๋วยสลากนี้จะเริ่มในวันเพ็ญเดือน 12 (เหนือ) ประมาณเดือนกันยายนและสิ้นสุดในเดือนเกี๋ยงดับ (เหนือ) ประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี

     

    • ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า

    ประเพณีขึ้นธาตุเดือน ๙ งานขึ้นธาตุเดือน ๙ เป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาพระบรมธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กำหนดการจัดในวันขึ้น ๑๔ ค่ำและ ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ ของภาคเหนือ หรือตรงกับเดือน ๗ ของไทย ประมาณปลายเดือนพฤษภาคมหรือเดือนมิถุยายนของทุกปี ภายในงานมีการจัดขบวนแห่ เช่น ขบวนกลองยาว ขบวนปัจจัยไทยทาน ขบวนต้นเงิน ขบวนต้นผ้าป่า ขบวนตุงไชยผ้าห่มองค์พระธาตุ

    • เรื่องเล่าประวัติศาสตร์

    เมื่อครั้งก่อนที่พม่าปกครองล้านนาไทยเป็นเวลาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๑ ถึง พ.ศ. ๒๓๑๗ นั้น พม่าได้นำเอาวัฒนธรรมประเพณีของตนเข้ามาเผยแพร่ในล้านนาไทยหลายด้าน ทั้งด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ความเชื่อ การแต่งกาย อาหาร ฯลฯ ทางด้านศิลปกรรม โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับศาสนาเช่น เจดีย์ในเชียงใหม่หลาย วัดสร้างตามแบบเจดีย์พม่า ประเพณีการสร้างรูปสิงห์ตามวัดต่างๆ นิยมสร้างตาม ประเพณีพม่าด้านปติมากรรมพบพระพุทธรูปแบบพม่าในวัดต่างๆ ในล้านนาไทยทั่วไป การที่คนล้านนาไทยนิยมบวชเณรมากกว่าบวชพระภิกษุนั้นเป็นประเพณีนิยมของพม่า อย่างหนึ่งเช่น การนิยมสักตามร่างกายเป็นประเพณีของพม่า หนุ่มต่อเมื่อได้สักตามร่างกายแล้ว โดยสักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ และเชื่อว่าทำให้คง 1 กระพัน ประเพณีการสักนี้ พม่านำเข้ามาใช้ในล้านนาไทยด้านศาสนา พม่าได้เอา 4 พุทธศาสนาหีนยานแบบพม่า เรียกว่า นิกายม่าน เข้ามาเผยแพร่ในล้านนาไทย แต่ 4 สันนิษฐานว่าไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร แม้ว่าพม่าจะนำเอาพระสงฆ์เข้ามาและสร้างวัดพม่าก็ตาม ส่วนความนิยมและสิ่งที่พม่านำไปจากเชียงใหม่หรือล้านนาไทยนั้น สันนิษฐานว่าพม่าคงนำไปน้อยมาก เพราะคนพม่าที่เข้ามาปกครองล้านนาไทยนั้นมีจำนวนน้อยและอยู่ในฐานะผู้ปกครองล้านนา จึงไม่เลื่อมใสยกย่องวัฒนธรรมของคนที่ตนปกครองอยู่นั้นเอง

     

 

หน้าหลัก ประเพณีพื้นบ้าน แหล่งท่องเที่ยว กิจกรรม/ข่าวสาร อัลบั้มรูป แผนที่

เว็บไซต์ทุ่งหกซิตี้ชุมชนวาไรตี้ของคนล้านนาจัดทำเพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านชาวล้านนาสืบต่อไป

  http://deklaanna.6te.net

Free Web Hosting